เมนู

เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้น ๆ ได้ ในเมื่อ
เหตุมีอยู่ ๆ ถ้าเธอหวังว่า เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ
คนเดียวเป็นหลายคนได้ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยาน
เป็นความทุกข์ ดูก่อนอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึง
ทราบได้โดยปริยายแม้นี้.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วง
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง อาสวะทั้งหลาย
ของเธอสิ้นรอบแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูก่อนอาวุโส นิพพาน
เป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้.
จบ นิพพานสูตรที่ 3

อรรถกถานิพพานสูตร


นิพพานสูตรที่ 3

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อุทายี ได้แก่ พระโลฬุทายีเถระ. บทว่า เอตเทว
เขฺวตฺถ
ตัดบทเป็น เอตเทว โข เอตฺถ ได้แก่ ไม่มีความสุขนั้นแล
ในที่นี้. บทว่า กามสหคตา คืออาศัยกาม. บทว่า สมุทาจรนฺติ
ได้แก่ ท่องเที่ยวไปในมโนทวาร. บทว่า อาพาธาย ได้แก่ เพื่อ
เบียดเบียนคือเพื่อบีบคั้น. บทว่า ปริยาเยน แปลว่า โดยเหตุ.
พึงทราบเนื้อความในวาระทั้งหมดอย่างนี้. ในสูตรนี้พระสารีบุตร
กล่าวถึง อเวทยิตสุข.
จบ อรรถกถานิพพานสูตรที่ 3

4. คาวีสูตร


ว่าด้วยอุปมาการหาอาหารของแม่โคกับการปฏิบัติของภิกษุ


[239] ดูก่อนภิกษุนั้นหลาย แม้โคเที่ยวไปตามภูเขา เป็น
โคโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขตที่หากิน ไม่เข้าใจที่จะไปเที่ยวบนเขา
อันขรุขระ แม้โคนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยังทิศที่ไม่
เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และพึงดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม
แม่โคนั้นยันเท้าหน้าก็ไม่ดีเสียแล้ว พึงยกเท้าหลังอีก ก็คงจะไป
ยังทิศที่ยังไม่เคยไปไม่ได้ กินหญ้าที่ยังไม่เคยกินไม่ได้ และดื่มน้ำ
ที่ยังไม่เคยดื่มไม่ได้ แม่โคนั้นยืนอยู่ในที่ใดพึงคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น
เราพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และพึงดื่ม
น้ำที่ยังไม่เคยดื่ม มันกลับมายังที่นั้นอีกโดยสวัสดีไม่ได้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะแม่โคนั้นเที่ยวไปบนภูเขา เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด
ไม่รู้จักเขตที่หากิน ไม่เข้าใจที่จะเที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระ ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัย
นี้เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขต ไม่เข้าใจเพื่อสงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลกรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติอันและสุขอัน
เกิดแต่วิเวกอยู่ เธอไม่เสพโดยมาก ไม่เจริญ ไม่กระทำให้มาก
ซึ่งนิมิตนั้น ไม่อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า
ผิฉะนั้น เราพึงบรรลุทุติฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป